วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ข้อสอบวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


ข้อสอบวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี

ข้อสอบรหัสวิชา 2001-0005    ชื่อวิชา  อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

แผนกช่างเทคนิคพื้นฐาน   เวลาสอบ   60 นาที

ค่ำสั่ง   ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบ ข้อ ก. ข. ค. และ ง.ที่เห็นว่าถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเกิดอัคคีภัย

ก.      เชื้อเพลิง             ข.  ความร้อน            ค.  ออกซิเจน           ง.  มนุษย์

2.   ข้อใดต่อไปนี้จุดติดไฟสูงสุด

ก.      น้ำมันก๊าด         ข.  น้ำมันเบนซิน       ค. ทินเนอร์              ง.  แอลกอฮอล์

3.  ข้อใดม่ใช่ผลกระทบที่เกิดจากอัคคีภัย

ก.      สภาพแวดล้อมเป็นพิษ                            ข.  ปรับเปลี่ยนตำแหน่งคนงาน

ข.      สูญเสียแรงงานและเศรษฐกิจ                  ง.  กระบวนการผลิตหยุดชะงัก

4.   ข้อใดคือหลักการที่ถูกต้องในการดับเพลิง

        ก. กำจัดเชื้อเพลิง      ข. กำจัดออกซิเจน     ค. ลดอุณหภูมิ         ง. ถูกทุกข้อ

5.   บริเวณใดควรมีการติดตั้งเครื่องดับเพลิงมากที่สุด

       ก.  โกดังเก็บสินค้า   ข.  บันไดทางเดิน        ค.  ห้องทำงานฝ่ายบริหาร    ง.  หน้าลิฟต์

6. ใครเป็นผู้มีหน้าที่ป้องกันการเกิดอัคคีภัยได้ดีที่สุด

       ก.  รัฐบาล    ข.  เจ้าของสถานประกอบการ    ค.  ตำรวจดับเพลิง          ง.  ประชาชนทุกคน

7.  เชื้อเพลิงชนิดใดต่อไปนี้ติดไฟช้าที่สุด

      ก.  น้ำมันหมู                ข.   น้ำมันก๊าด              ค.  น้ำมันเบนซิน           ง.  น้ำมันดีเซล

8.  ข้อใดถือเป็นความประมาทในการเกิดอัคคีภัย

      ก. ไม่แก้ไขปลั๊กไฟที่ชำรุด   ข. จุดธูปไหว้พระ   ค.  ทำอาหารไม่ปิดเตาแก๊ส   ง. ถูกทุกข้อ


 9.  ข้อใดส่งผลต่อการปรับตัวของมนุษย์กับบุคคลรอบข้างมากที่สุด

   ก.  สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง    ข.  สุขภาพจิตที่ดี    ค.  ตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูง     ง.  ถูกทุกข้อ

10.  สุขภาพกายของมนุษย์จะดีได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยข้อใดมากที่สุด

       ก.   บุญและกรรมเก่า                               ข.   อาหารการพักผ่อน และการออกกำลังกาย                      ค.   อาหารเสริมและวิตามิน                    ง.   ถูกทุกข้อ

 11.  ข้อใดบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ของสุขภาพกายและสุขภาพจิตมากที่สุด

         ก.  ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ                         ข.  ปากกับใจตรงกัน

         ค.  จิตใจที่สดใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์     ง.  ปากอย่างใจอย่าง

         12.  ข้อใดคือลักษณะของพันธุกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากที่สุด

          ก.  ชาญาเป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับ                   ข.  ชาคริตเป็นโรคลมบ้าหมูตั้งแต่เกิด

          ค.  ชลิตาเป็นโรคปวดไมกรน                            ง.  ชวิสาเป็นโรคหวัด

         13.  ข้อใดส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของบุคคลมากที่สุด

          ก.  รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ                        ข.  ความเครียดจากการทำงาน
                ค.  ดินฟ้าอากาศ                                                 ง.  มลพิษและสิ่งแวดล้อม

   14.  ข้อใดคือวิธีการส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดี

    ก.  สวมเครื่องป้องกันอันตรายทุกครั้งที่ปฏิบัติ     ข.  ปฏิบัติตามกฎระเบียบโรงงานอย่างเคร่งครัด

    ค.  ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังรอบครอบอยู่เสมอ            ง.  ถูกทุกข้อ

         15.   ข้อใดกล่าวถูกต้อง

          ก.  สภาพแวดล้อมที่ทำงานสำคัญต่อสุขภาพมากกว่าสภาพแวดล้อมที่บ้าน

          ข.  เนื้อ นม ไข่ คืออาหารที่ดีและมีสุขภาพเท่านั้น

          ค.  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยเสริมสร้างสุขภาพ

          ง.  หากร่างกายอ่อนเพลียควรรับประทานอาหารเสริมทันที

16.  ข้อใดไม่ถูกต้องต่อการเสริมสร้างสุขภาพ

       ก.  อาหารชีวจิตดีที่สุดสำหรับวัยรุ่น                        ข.  การนอนหรับคือการพักผ่อนที่ดีที่สุด

       ค.  รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่                    ง.  หลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิด

17.  ข้อใดคือพฤติกรรมมนุษย์ที่ก่อให้เกิดอุบัติภัยมากที่สุด

        ก.  ความประมาท     ข.  ขาดความรู้         ค. ไม่กล้าปฏิบัติหน้าที่        ง.  เครื่องจักรชำรุด
18.  ขณะที่สมศักดิ์กำลังทำงานทดลองการเดินเครื่องจักรอยู่ก็เกิดการระเบิดทำให้ได้รับบาดเจ็บกรณีนี้ 

  ถือเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากสาเหตุใด

            ก.  ความประมาท    ข.  ตัวผู้ปฏิบัติงาน    ค.  วัสดุ –อุปกรณ์               .  ถูกทุกข้อ

        19 .  ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดการสูญเสียชีวิตจากการทำงานมากที่สุด

           ก.  ยานพาหนะ        ข.  เครื่องจักร         ค.  อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง    ง.  สภาพแวดล้อมการทำงาน

        20.  ระดับเสียงในข้อใดที่กำหนดตามกฎหมายสูงสุดว่าไม่เป็นอันตรายในช่วงเวลาทำงาน 8 ชั่วโมง

                ก.  90 เดซิเบล          ข.   95 เดซิเบล        ค.  100  เดซิเบล                  ง.  120  เดซิเบล

         21.  ข้อใดไม่ใช่โรคที่เกิดจากการทำงาน

                ก.  พิษสารตะกั่ว      ข. โรคผิวหนัง          ค.  โรคจากปรอท              ง. โรคเอดส์     

         22.  ข้อใดคือวิธีการป้องกันโรคจากการทำงาน

                 ก.  รักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อมในโรงงาน         ข. ตรวจสุขภาพพนักงานสม่ำเสมอ

                 ค.  ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการทำงาน                     ง.  ถูกทุกข้อ

         23.  ข้อใดคือผลกระทบจากการทำงานกับวัตถุสั่นสะเทือน

                 ก.  เยื่อสมองอักเสบ     ข.  ระบบทางเดินติดขัด    ค.  กระดูกขาดแคลเซียม    ง.  ถูกทุกข้อ

        24.  ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการเฝ้าระวังโรค

                ก.  ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของการเกิดโรค    ข. ทำให้ทราบการระบาดวิทยาของโรค

                ค.  ช่วยให้เกิดการกระจายของโรคเร็วขึ้น        ง.  ทำให้หาแนวทางป้องกันและควบคุมโรคได้

         25.  ข้อใดคือหน่วยงานที่มีหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลและเฝ้าระวังโรคจาการทำงานในต่างจังหวัด

                 ก.  สำนักงานสถิติจังหวัด                                         ข.  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

                  ค. โรงพยาบาลประจำจังหวัด                                  ง.  อุตสาหกรรมจังหวัด

         26.  หากพบผู้บาดเจ็บที่ต้องการความช่วยเหลือ ควรปฏิบัติอย่างไรเป็นอันดับแรก

                ก.  เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บทันที                                     ข.  ตรวจดูอาการและบาดแผล  

                ค.  วัดปรอทเพื่อตรวจดูไข้                                         ง.  ให้รับประทานยาแก้ปวดทันที

         27.  ข้อใดไม่ควรปฏิบัติในการปฐมพยาบาล

                  ก.  ถอดเครื่องแต่งกายให้หลวมหรือปลดสิ่งรัดกุม   ข.  ตรวจดูอาการก่อนทำการเคลื่อนย้าย

                  ค.  ผู้ป่วยหมดสติให้ดื่มน้ำทันที                                ง.  หากเลือดออกให้ห้ามเลือดทันที

         28.  ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ป่วยกระดูกหัก

                 ก.  รีบเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุทันที                 ข.  ถอดเสื้อผ้าทันที่เพื่อตรวจดูอาการ

                 ค.  รีบให้ยาแก้ปวดรับประทาน                               ง.  ถ้าไม่แน่ใจในอาการ ไม่ควรเคลื่อนย้าย


         29.  ข้อใดคือจุดมุ่งหมายหลักของการปฐมพยาบาล

                 ก.  ลดความเจ็บปวด  ข. ป้องกันการบาดเจ็บ  ค. ยืดชีวิตผู้บาดเจ็บ   ง. ถูกทุกข้อ

         30.  การช่วยเหลือผู้ป่วยได้รับสารพิษประเภทกรดข้อใดถูกต้อง

                ก.  ให้ดื่มน้ำมากๆ    ข. ให้ดื่มโซเดียมคาร์บอเนต    ค.  ดื่มไข่ผสมน้ำมันพืช    ง.  ถูกทุกข้อ          
         31.  เวลาทำงานปกติไม่เกินวันละกี่ชั่วโมงต่อวัน

            ก.  7 ชั่วโมง/วัน          ข.  8 ชั่วโมง/วัน                      ค.  9 ชั่วโมง/วัน                ง. 10 ชั่วโมง/วัน

         32.  งานที่เป็นอันตรายต่อลูกจ้างจะมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อวัน

            ก.  7 ชั่วโมง/วัน            ข.  8  ชั่วโมง/วัน            ค.  9 ชั่วโมง/วัน                    ง.  10 ชั่วโมง/วัน

         33.  ลูกจ้างต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า กี่วัน/สัปดาห์

                ก.  1 วัน/สัปดาห์           ข.  2  วัน/ สัปดาห์          ค.  แล้วแต่นายจ้างกำหนด    ง.  ถูกทุกข้อ

         34.  วันหยุดตามประเพณีในแต่ละปีควรไม่น้อยกว่ากี่วัน

                ก.  11 วัน                       ข.  12 วัน                        ค. 13 วัน                               ง.  14 วัน

         35.  ลูกจ้างที่ทำงานครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละไม่น้อยกว่ากี่วัน

                ก.  5 วัน                         ข.  6 วัน                          ค.   7 วัน                               ง.  8 วัน

         36.  ข้อใดคืองานอันตรายของแรงงานหญิง

               ก.  งานในโรงงานเครื่องหนัง       ข.  งานเย็บจักร      ค.  งานก่อสร้างใต้ดิน      ง.  งานซักรีด

         37.  ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกินกี่วัน

                ก.  60  วัน               ข.  90 วัน                   ค.  120 วัน                      ง. ลาจนกว่าจะทำงานไหว

         38.  ห้ามนายจ้างจ้างเด็กต่ำกว่ากี่ปีทำงาน

                 ก.  12 ปี                  ข.  13  ปี                   ค.  14 ปี                             ง. 15 ปี

         39.  ห้ามจ้างเด็กต่ำกว่า 18 ปี ทำงานประเภทใด

               ก.  เกี่ยวกับความร้อน     ข.  เกี่ยวกับสารเคมี    ค. งานสำรวจ ขุดเจาะ     ง.  ถูกทุกข้อ

         40.  ข้อใดคือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลป้องกันและแก้ไขปัญหาความปลอดภัยจากการปฏิบัติงาน

                 ก.  รัฐบาล      ข. เจ้าของสถานประกอบการ      ค. ประชาชนและชุมชน  ง. ถูกทุกข้อ

                            

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พระเครื่อง

1.พระนางพญาพิมพ์สองหน้า
2.พระปิดตาหลวงพ่อจันทร์วัดบ้านยาง

แนวข้อสอบอาชีวะ

1.วิชาชีพครู
2.ระเบียบวินัย
3.แนวข้อสอบที่มักจะออกของกรมอาชีวะ

ข้อมูลวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี


ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี
วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ กระทรวงธรรมการได้ประกาศตั้งโรงเรียนฝึกสอนวิชาชีพในส่วนภูมิภาคโดยให้เปิดสอนวิชาช่างหัตถกรรม สำหรับจังหวัดกาญจนบุรีสถานที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ที่บริเวณวัดเทวสังฆาราม ชื่อว่า " โรงเรียนช่างไม้เทวสังฆาราม " รับเฉพาะนักศึกษาที่จบชั้นประถมปีที่ ๔ เข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหลักสูตร ๓ ปี ได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการจัดสร้างโรงเรียนนั้นเกิดขึ้นโดย หลวงปู่ดี พุทธโชติเถร (พระเทพมงคลรังษี) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามในขณะนั้นได้รับการถวายที่ดิน จำนวน ๑๐ ไร่ ๕๐ ตารางวา จากนางสมนา แต้มทอง คหบดีจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการสร้างโรงเรียน " ช่างไม้เทวสังฆาราม " ในปี พ.ศ.๒๔๘๑

ประวัติส่วนตัว

นายอำนาจ เกตุแก้ว ครูแผนกช่างเทคนิคพื้นฐาน


รักคนอ้วน
100 ม. 6 ต. สิงห์  อ.ไทรโยค จ. กาญจนบุรี 71150
email tung.2013@hotmail.com

การศึกษา 1. ปวช. วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี
                 2. ปวส. วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี  
                 3. วท.บ. ม.ราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  
                 4. ป. การจัดการและการประเมินโครงการ
                 5. ป. วิชาชีพครู